คู่มือพัฒนาการของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด 12 เดือนแรก

พัฒนาการ ของลูกน้อย ตั้งแต่แรกเกิด 12 เดือนแรก สำหรับ คุณแม่ มือใหม่
พัฒนาการ ของลูกน้อย ตั้งแต่แรกเกิด 12 เดือนแรก สำหรับ คุณแม่ มือใหม่

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่1: 1 month หนูขอนอนนะแม่

หลังจากคุณแม่ได้ตื่นเต้นยินดีกับลูกน้อยที่ได้ลืมตาออกมาดูโลกกว้างกันแล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาดูแลเจ้าตัวเล็กกันแล้วหล่ะค่ะ

ลักษณะลูก:

ลูกน้อยจะนอนเป็นส่วนใหญ่ ในช่วง2 สัปดาห์แรก และเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับลักษณะพื้นฐานของลูก เพราะเด็กทารกทุนคนมี ลักษณะเฉพาะของตัวเอง เช่น บางคนนอนนาน ไม่ร้องกวน ดูดนมทีละเยอะๆ แต่บางคนก็ตื่นบ่อย หลับยาก เป็นต้น

พัฒนาการ:

ไม่ว่ารู้สึกหรือต้องการอะไร หนูร้องไห้อย่างเดียวค่า ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณแม่จะทำได้ คือ การตอบสนองให้ถูกต้องกับความต้องการ ซึ่งอย่างที่บอกไปว่าคุณแม่ต้องสังเกตุการร้องไห้แต่ละครั้งของลูก แต่ก็อาจมีบางครั้งที่อาจจะสาเหตุไม่เจอ ทริกง่ายๆก็คือให้อุ้มปลอบลูกอย่างอ่อนโยน หรือเปลี่ยนท่าอุ้ม ท่าให้นมก็จะช่วยได้ค่ะ

การตอบสนองของร่างกาย:

–   การมองเห็น ถ้าแสงไม่จ้าจนเกินไป ลูกน้อยจะลืมตาขึ้นมองเป็นบางครั้ง โดยจะมองเห็นได้ดีในระยะประมาณ 1ไม้บรรทัด ซึ่งเป็นระยะเดียวกับที่คุณแม่กำลังให้นมเลยค่ะ

–   การตอบสนอง (Reflex)ลูกน้อยจะมีการตอบสนองต่อเสียงหรือสิ่งเร้าต่างๆ โดยมีอาการเช่น ร้องไห้ สะดุ้ง ตกใจ ผวา หรือบางทีนอนเฉยๆก็ยิ้มขึ้นมา ซึ่งเป็นการตอบสนองโดยอัตโนมัตินั่นเองค่า

–   การฟัง ลูกน้อยจะชอบฟังเสียง สูงๆ ที่ทอดยาวนานๆ มากกว่าเสียงสะดุด สั้นๆ ลูกน้อยจึงชอบฟังเสียงคุณแม่เป็นพิเศษค่า แต่เค้าสามารถจำเสียงพ่อแม่ได้แล้วนะค่ะ

–   การขยับตัว ถ้าเป็นลูกสาวจะขยับตัวช้ากว่า และไวต่อความเจ็บปวดได้มากกว่าลูกชายค่ะ

Play Tip

–   การโอบกอด ไม่ว่าจะเป็นช่วงให้นม กล่อม นอน จะช่วยกระตุ้นเซลล์สมองของลูกน้อยให้พร้อมทำงาน พร้อมที่จะพัฒนาต่อไป

–   การแตะฝ่ามือ แตะฝ่าเท้า สัมผัสลูกบ่อยๆ จะช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น

ปรึกษาเรื่องอาหารตามวัยตั้งแต่ 6 เดือน

 

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่2: 2 month หนูอ้อแอ้ได้แล้วน้า

ลักษณะลูก:

น้ำหนักตัวลูกน้อยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 กิโลกรัม จากน้ำหนักแรกเกิด เดือนที่2 นี้ลูกน้อยจะมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะมีพื้นฐานที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น กินง่าย นอนง่าย นอนนาน หรือตื่นง่าย งอแง ทำให้คุณแม่รู้ใจคุณลูกมากขึ้น ที่น่าดีใจสุดๆคือ ลูกน้อยจะนอนตอนกลางคืนได้นานขึ้น บางคนอาจนอนยาวได้ถึง 7 ชั่วโมง ส่วนกลางวันก็จะนอนและกินนมเป็นเวลา เป็นระบบมากขึ้น แสดงสีหน้าและยิ้มเก่งมากขึ้น ส่งเสียงบ้างบางครั้ง และกินนมได้มากขึ้น ประมาณ7 มื้อต่อวันเลยทีเดียวค่า

พัฒนาการ:

ลูกน้อยยังมี Reflex อยู่บ้าง แต่จะนุ่มนวลขึ้น เมื่อจับลูกนอนคว่ำ จะยกศีรษะได้ประมาณ 45 องศา แต่เพียงครู่เดียวค่ะ เริ่มมีการขยับมือคว้าของ อาจถือได้นานถึง 2-3นาที มีดูเล่นกับเงามือตัวเองด้วยนะ เพราะนึกว่าเป็นสิ่งของค่า

สังคม:

ลูกน้อยจะเริ่มสนใจฟังเสียงต่างๆรอบตัวมากขึ้น เมื่อได้ยินเสียงที่คุ้น จะนิ่งฟัง แสดงสีหน้าว่าได้ยิน อีกทั้งสายตาก็มีพัฒนาการ คือสนใจที่จะจ้องมอง มองตามได้ และชอบมองหน้าคนด้วยนะ แล้วยังมีการแสดงอารมณ์มากขึ้นด้วย เช่น หงุดหงิด ดีใจ เป็นต้น

Play Tip

–   การพูดคุยกับลูกน้อย การร้องเปิดเพลงกล่อม จะช่วยส่งเสริมประสาทการรับรู้และการเรียนรู้ ให้กับลูกน้อยได้อย่างดีเลย

–   คุณแม่ยิ้ม ทักทาย เล่นด้วยเสมอ จะทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีและเร็วมากขึ้น เพราะเด็กที่ได้รับการตอบสนองความต้องการ จะมีปฎิกริยาตอบโต้สูงนะค่ะ

 

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่3: 3 month หนูกินนอนเป็นเวลาแล้วค่ะแม่

ลักษณะลูก:

ลูกน้อยปรับตัวกับการกิน การนอนได้ดีขึ้น นอนกลางคืนได้ยาวขึ้น ถึง 10 ชั่วโมง ในส่วนของคุณแม่เองก็ปรับตัวรู้ใจลูกน้อยมากขึ้นด้วยใช่มั้ยนะ ช่วงนี้ประสาทตาของลูกมีการจับภาพได้ดีขึ้น คุณแม่อาจจะเห็นลูกเล่นกับมือตัวเอง กุมมือ เอาเข้าปาก เพราะเค้ามองเห็นมือได้ชัดเจนที่สุดค่า สิ่งที่พัฒนาได้มากขึ้นอย่างเด่นชัดอีกข้อคือ การเรียนรู้ผ่านการสัมผัส เช่นหยิบคว้าสิ่งที่อยู่ใกล้มือ และทำซ้ำๆ นั่นแปลว่าลูกกำลังจดจำสิ่งที่ได้สัมผัสอยู่นะค่ะ

พัฒนาการ:

–   ควบคุมการขยับของร่างกายได้ดีขึ้น

–   ชันคอได้นานขึ้น ขณะนอนคว่ำ แต่ยังไม่สามารถยกตัวได้

–   ยกขาและแขนขึ้นได้พร้อมกัน ขณะนอนหงาย

สังคม:

–   อ้อแอ้ ตอบโต้ ส่งยิ้ม คุยกับคุณแม่ได้แล้วนะ เพราะหนูจำเสียงคุณแม่ได้ค่า

–   แสดงสีหน้าเก่งขึ้น พยายามสแดงออกทางร่างกาย แต่ยังคงร้องไห้เพื่อบอกความต้องการ

–   หันหน้าไปตามเสียงที่คุ้นเคย มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว เริ่มจำได้และรอคอย ตอบโต้ต่อสิ่งเร้า ยิ้มง่าย ยิ้มให้ทันทีเพื่อตอบรับ

Play Tip

–   คุณแม่ช่วยให้ลูกเล่นของเล่น เขย่ากับลูก ดูภาพ ร้องเพลง พร้อมทำมือประกอบง่ายๆ อุ้ม พูดคุย ยิ้มแย้ม กับลูก ลูกจะมองริมฝีปากแม่ และฟัง จะทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการเคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้น

–   คุณแม่อุ้มลูกออกไปเดินนอกบ้าน อากาศดีๆจะช่วยให้หลอดลมของทารกแข็งแรงขึ้น เหมือนได้ออกกำลังกาย จะช่วยให้นอนหลับสนิทดีขึ้น

 

 พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่4: 4 month หนูพลิกตัวได้แล้ว

ลักษณะลูก:

วัยนี้ลูกน้อยจะสนุกกับการพลิกคว่ำ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง เตรียมพร้อมที่จะนั่งในเดือนถัดไปค่ะ วัยนี้เวลาอาบน้ำคุณแม่จะเปลี่ยนจากการได้ยินเสียงร้องไห้ เป็นเสียงหัวเราะแล้วนะค่ะ ลูกจะเริ่มเตะตีน้ำอย่างสนุกสนาน และอาจเห็นผมลูกร่วงหล่นอยู่ (ถ้ายังไม่ได้โกนผมไฟเสียก่อน) เพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงผลัดผมใหม่ สีและลักษณะผมที่ขึ้นใหม่นี้จะเป็นลักษณะเฉพาะของตัวลูกเราแล้วค่ะ

พัฒนาการ:

–   กล้ามเนื้อคอแข็งแรงมากขึ้น ตั้งตรง หันไปรอบๆได้ คุณแม่อุ้มลูกได้สบายมากขึ้นค่ะ

–   ยกศีรษะได้เกือบตั้งฉาก แถมยกขายกมือขึ้นได้ขณะนอนคว่ำ

–   ใช้มือจับขาเล่นเวลานอนหงาย

–   พลิกคว่ำได้ ช่วงแรกจะพลิกคว่ำไปหงายก่อน สักพักเมื่อคล่องก็จะพลิกได้ทั้งคว่ำและหงาย

–   ใช้นิ้วมือในการจับของได้มากขึ้น เริ่มใช้นิ้วโป้ง นิ้งชี้จับของเข้าปาก

–   เล่นน้ำลาย ส่งเสียงอ้อแอ้ พูดคุย โต้ตอบ

–   นั่งพิง โดยที่ศีรษะและหลังตรงได้ 5-10 นาที

สังคม:

–   จำหน้าคนคุ้นเคยได้มากขึ้น เริ่มมองและยิ้มกับตัวเองในเงากระจก

–   ส่งเสียงสแดงอารมณ์ได้ชัดเจนขึ้น เช่นหัวเราะ คิกคัก เวลาสนุก พอใจ

–   สนใจของเล่นมากขึ้น ชอบเล่นทั้งของเล่นและกับคนรอบข้าง

–   มองหาแหล่งที่มาของเสียงทันที

Play Tip

–   ให้คุณแม่ออกท่าทางเกินหน้าตา เกินจริง เวลาเล่นกับลูก เพราะเป็นการตอบสนองความสนใจของลูกน้อยได้ดี วัยนี้ยังคงชอบเสียงร้องเพลงของคุณแม่อยู่เสมอ

–   หาของเล่นที่หลากหลาย แต่เน้นความปลอดภัย เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้เสียง สัมผัส ผ่านของเล่น และการเล่นกับคุณแม่

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่5: 5 month หนูชอบหัวเราะ

ลักษณะลูก:

ลูกน้อยเริ่มเล่นเก่งขึ้นทุกวัน หัวเราะคิกคัก เด็กบางคนอาจมีแววซนออกมาให้คุณแม่เตรียมรับมือน้า บางครั้งลูกในวัยนี้อาจเหมือนมีโลกส่วนตัว คือจะสนใจมอง เล่นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ อาจเป็นของเล่นหรือนิ้วของตัวเอง นั่นเป็นเพราะลูกกำลังเรียนรู้ว่าตัวเองเป็นคนละส่วนกับสิ่งแวดล้อม ช่วงวัยนี้คุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดของเล่นของลูกอย่างสม่ำเสมอ เพราะเจ้าตัวเล็กมักจะหยิบเข้าปาก ชิมดูด ซึ่งก็ไม่ควรห้ามทุกอย่าง เพราะถือเป็นการเรียนรู้ของลูกอย่างหนึ่ง

พัฒนาการ:

–   ควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อคอ หลังแข็งแรง ศีรษะตั้งตรงได้อย่างดี

–   สามารถนั่งได้ถ้ามีอะไรหนุนหลัง ขณะที่นั่งก็คว้าของเล่นได้นะ

–   ใช้นิ้วคล่องขึ้น ใช้มือถือของได้ ถือของเล่นแล้วเขย่าให้มีเสียงได้ พร้อมทั้งหยิบเข้าปากเพื่อชิม

สังคม:

–    แยกแยะพ่อแม่ ผู้ใหญ่ใกล้ชิด กับคนแปลกหน้าได้

–    รู้จักยกแขน บอกว่าอยากให้อุ้ม

–    ชอบส่งเสียงตามเมื่อได้ยินเสียงพูด หรือมองตามปากที่คนอื่นพูด

–    แสดงออกด้านอารมณ์ได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความกังวล ความโกรธ หรือการต่อต้านเมื่อถูกขัดใจ

Play Tip

–   ช่วงแรกเกิด-1 ปี เด็กมีพัฒนาทางด้านร่างกาย และจิตใจเร็วมาก พ่อแม่ควรใกล้ชิดลูกน้อยให้มาก เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพื้นฐานของลูกให้เติบโตได้อย่างดี

–   เริ่มเล่น “จะเอ๋” กับลูกได้แล้ว จะทำให้ลูกเรียนรู้การมีอยู่ และหมั่นเรียกชื่อลูกบ่อยๆ อีกไม่นานลูกจะเข้าใจว่าเค้าคืออะไร

 

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่6: 6 month หนูคันเหงือก

ลักษณะลูก:

ช่วงนี้เด็กคนไหนที่เคยอาเจียนหลังมื้อนม มาถึงเดือนนี้อาการดังกล่าวจะหายไปแล้ว คุณแม่อาจพบว่านมแม่ที่เคยพอกลับน้อยลงนะค่ะ อาจให้นมผสมเพิ่มได้   เด็กบางคนที่กินนมแม่มาตลอดอาจจะไม่ยอมดูดนมจากขวด  คุณแม่อาจลองใส่ถ้วยให้ดื่ม โดยกะปริมาณจากอัตราเพิ่มของน้ำหนัก ลูก 6 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มเฉลี่ยวันละประมาณ   15 กรัม  ถ้าใน 10 วัน น้ำหนักเพิ่มเพียง 120 –  130 กรัม  ลองเพิ่มนมให้อีกวันละหนึ่งขวด  ถ้าเพิ่มไม่ได้ถึง  100  กรัม  ให้เพิ่มนมวัววันละ  2  ขวด  ควรให้หลังอาหารเสริมนะค่ะ  และเพิ่มปริมาณอาหารเสริมให้เร็วขึ้น  เพื่อให้อาหารพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย

พัฒนาการ:

–           –   พริกคว่ำได้คล่องแล้ว เริ่มจะคืบไปข้างหน้าหรือข้างหลังได้บ้าง

–           –   นั่งทรงตัวได้ดีขึ้น นานขึ้น แต่ต้องมีอะไรพยุงหลังไว้บ้างเพราะหน้าอาจคะมำได้ง่าย  ๆ

–           –   สามารถถือขวดนมได้เอง จับของเล่น และเปลี่ยนของจากมือข้างหนึ่งมาอีกข้างหนึ่งได้ง่าย ๆ

–           –   ส่งเสียงได้หลายระดับเสียง   เริ่มออกเสียงที่มีพยัญชนะ

–          –   คว้าได้แม่นยำ แล้วปล่อยให้ตกลงไป

–           –   เวลานอนหงายชอบจับเท้าเล่น เอาเท้าขึ้นมาอม

–           –   บางคนอาจจะเริ่มมีฟันขึ้น หรือมีอาการคันเหงือก

 

สังคม:

–           –   เลียนแบบท่าทาง   หรือสีหน้าของคนใกล้ชิด

–           –   แยกว่าคนไหนเป็นผู้ใหญ่ คนไหนคือเด็กได้

–           –   ส่งเสียงร้องเมื่อต้องการความช่วยเหลือ แต่เป็นการส่งเสียงแบบมีความหมาย

–           –   ชอบเล่นกับคนอื่น ๆ   มากขึ้น ชอบเอื้อมมือไปจับหน้าเด็กคนอื่น  ๆ

Play Tip

–           พาลูกเล่นนอกบ้าน ลูกวัยนี้สนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น ในวันที่อากาศดีๆ ลองหาที่หน้าบ้าน หรือบนสนามหญ้าปูเสื่อ แล้วให้ลูกมานอนคว่ำเล่น ดูต้นไม้ ใบหญ้า   หรือคนที่เดินผ่านไปมาหน้าบ้าน  ลูกจะรู้สึกสนุกสนานพยามเคลื่อนตัวไปข้างหน้า เป็นการออกกำลังกายไปใน

อุบัติเหตุก็เกิดง่ายขึ้น เพราะลูกเคลื่อนไหวได้มากขึ้น โดยเฉพาะการตกเตียง   หัวโขกลูกกรง คุณแม่ต้องหาผ้าพันลูกกรงเตียงหัวนอนไว้ และระวังไม่ให้ของอันตรายใกล้ตัวเมื่อวางลูกลงบนพื้น   ไม่ว่าจะตื่นหรือหลับ   ต้องเก็บของรอบตัวให้หม โดยเฉพาะของที่อันตราย  เช่น บุหรี่  ก้นบุหรี่  ไม้ขีด เข็มกลัดซ่อนปลายเข็ม ใบมีดโกน  ยาเม็ด กระดุม เศษสตางค์  เศษกระจก  กระติกน้ำร้อน  ของเล่นก็ไม่ควรเป็นของที่มีเหลี่ยม มีคม พลาสติกบางที่แตกหักง่าย ของเล่นที่ทาสีก็ต้องระวังสารตะกั่วด้วย

 

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่7: 7 month หนูชอบโลกกว้าง

ลักษณะลูก:

วัยนี้เด็กมักนอนรวดเดียวจนถึง  6  โมงเช้าหรือ  8  โมงเช้า เวลาปัสสาวะกลางคืนบางคนก็ไม่ตื่น  บ้างก็ตื่น  อาจร้องไห้นิดหน่อยแล้วหลับต่อ   บางคนต้องได้ดูดนมอีกครั้งจึ่งนอนต่อ วัยนี้ไม่นอนมากหรือบ่อยเหมือนเคย  ขณะตื่นจะอารมณ์ดี   มีเวลาตื่นนานขึ้น  เริ่มมีความสุขที่ได้เคลื่อนไหว ได้เล่นกับพ่อแม่ ได้ไปเที่ยวนอกบ้าน  ส่วนระยะที่ฟันขึ้นจะต่างกัน  แต่ส่วนใหญ่เมื่ออายุเกิน  6  เดือน  มักเริ่มมีฟันล่างด้านหน้างอกขึ้นมา  2  ซี่แล้ว การขับถ่ายวัยนี้เริ่มคงที่  อาจถ่ายอุจจาระวันละ 1-2  ครั้ง  บางคน 2-3  ครั้ง บางคน 2 วัน ถ่ายครั้ง บางคนถ่าย 3 วันครั้ง  จนต้องสวนทวาร  ซึ่งไม่ควรทำถ้าอุจจาระไม่แข็ง

พัฒนาการ:

–           – ยันตัวขึ้นให้อยู่ท่านั่งและท่าคลานได้  บางคนอาจคลานได้แล้ว

–           – ถ้าช่วยดึงจะลุกขึ้นยืนได้

–           – ใช้นิ้วหยิบของได้คล่องขึ้น อยากหยิบช้อนแล้วใส่เข้าปากเอง แต่อาจไม่ตรงปากมากนัก

สังคม:

–           –   ส่งเสียงที่มีทั้งสระและพยัญชนะ  ออกเสียงที่มีความหมายเฉพาะตัวได้ดีขึ้น

–           –   จำเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นได้ เริ่มเปรียบเทียบการกระทำของตนเองกับคนอื่น

–           –   มีอารมณ์ขัน  หัวเราะเสียงดังเมื่อชอบใจ

–           –   สนใจของเล่น  ชอบเล่นของเล่นมากขึ้น แบมือดูของในมือ

Play Tip

–           ช่วงเวลาอาหารเสริม คุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกสนุกกับการหยิบช้อน หรือหยิบอาหารเข้าปากเอง  กินด้วยวิธีการของตัวลูกเองด้วยเพราะจะเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการกินของลูกน้อย ยังไม่ต้องกังวลว่าลูกจะได้รับอาหารไม่เพียงพอ เพราะอาหารหลักของลูกคือ น้ำนม การที่ลูกได้กินเองจะช่วยพัฒนาด้านการใช้มือกับสายตาให้สัมพันธ์กัน

คุณแม่ต้องจำไว้เสมอว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน วัยนี้บางคนอาจจะคลานได้  บางคนอาจจะยังไม่คลาน ก็ไม่ถือว่าลูกพัฒนาการช้า คุณแม่ต้องคอยสังเกตว่าลูกอาจจะเป็นเด็กเงียบๆ ไม่ค่อยชอบเคลื่อนไหว ก็อาจกระตุ้นโดยการหาของเล่นมาเล่นกับลูก ชวนลูกเล่นบ่อย ๆ (แต่ก็ต้องดูว่าลูกพร้อมจะเล่นหรือไม่) พาออกไปเดินเล่นนอกบ้านบ่อย ๆ เปิดโลกข้างนอกให้ลูกได้เรียนรู้     และกระตุ้นการเลื่อนไหวของลูก

 

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่8: 8 month หนูคลานเก่งแล้วนะแม่

ลักษณะลูก:

ลูกวัยนี้สามารถคลานตามใจตัวเองได้ไกล  ดังนั้นคุณแม่ควรเก็บของใช้ให้เรียบร้อย ระวังพวกตู้เสื้อผ้าที่เปิดง่าย ของในตู้ก็ต้องระวังด้วย  เช่นลูกเหม็น  ลิ้นชักที่ลูกเอื้อมถึง   ต้องเก็บของให้เรียบร้อยของที่อันตราย  และของมีคมต้องเอาไปไว้ที่อื่น  ถ้าอยู่บ้านสองชั้น  บ้านใต้ถุนสูง  ต้องระวังลูกตกระเบียง  ตรงบันไดควรทำที่กั้นเอาไว้

พัฒนาการ:

–           –   ส่วนใหญ่จะคลานได้แล้ว และคล่องขึ้นเรื่อย ๆ

–           –   เกาะเก้าอี้หรือโต๊ะแล้วดึงตัวขึ้น ก้าวขาออกไปหนึ่งก้าว

–           –   นั่งหลังตรงได้นานพอสมควร โดยไม่มีอะไรมาดันหลัง

–           –   พยายามหยิบของชิ้นเล็กๆ  ด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วชี้มากขึ้น ปัดสิ่งที่ไม่ต้องการออก

สังคม:

–           –   จำชื่อของตัวเองได้  หันตามเสียงเรียกชื่อ รู้จักแยกแยะความแตกต่าง

–           –   ส่งเสียงต่าง ๆ  บางครั้งเหมือนพูดคนเดียว

–           –   เข้าใจการเล่นจ๊ะเอ๋

–           –   ชอบสำรวจของในมือ และของเล่น  เริ่มเล่นบล็อกได้

–           –   ตะโกนเรียกให้ผู้อื่นหันมาสนใจ

Play Tip

–           วัยนี้ลูกรู้จักแสดงความรู้สึกมากขึ้น ก็ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบสนองต่อตัวลูกมากขึ้นเช่นกัน  การพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ  การเล่านิทานให้ลูกฟัง   จะช่วยพัฒนาทักษะทางด้านภาษา และปลูกฝังนิสัยรักหนังสือ รักการอ่านให้ลูกด้วย  คุณพ่อคุณแม่พยายามหาหนังสือภาพ  หนังสือนิทานที่เหมาะกับวัยนี่มาไว้ใกล้ตัวลูกเสมอ  ลูกจะได้รู้สึกคุ้นเคยกับหนังสือ

–           ของเล่นวัยนี้มักชอบที่ความหลากหลาย บางคนตีกอง ตุ๊กตาล้มลุก รถไม้ ลูกที่คลานไปไหนได้เองมักไม่สนใจของเล่นที่ชื้อให้  กลับสนใจสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านมากกว่า  เช่น  ถ้วยชาม  ช้อน  ไฟตั้งโต๊ะ  สายไฟ  มือจับลิ้นชัก โทรทัศน์  วิทยุ ดังนั้นของอะไรที่ลูกชอบแล้วปลอดภัยก็ควรใช้ประโยชน์ เช่น นำมาล่อลูกให้เข้ามาหา

–           วัยนี้เริ่มสนใจดูทีวีแต่คุณแม่ก็ไม่ควรเปิดทีวีทิ้งไว้  เพราะคิดว่าลูกจะได้เรียนรู้ภาษา ความจริงแล้วไม่ใช่  ลูกจะเรียนรู้ภาษาได้จากความสัมพันธ์กับคนรอบด้านเท่านั้น

 

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่ 9: 9 month นิ้วมือหนูคล่อง ซุกซนได้แล้ว

ลักษณะลูก:

ลูกมักนอนช่วงเช้ากับช่วงบ่าย ช่วงละ 1 -2.5  ชั่วโมง บางคนอาจไม่นอนช่วงเช้า  เด็กที่กลางคืนตื่นแล้วนอนยาก เด็กกินนมขวดอยู่แล้วพอถึงวัยนี้มีน้อยคนที่กินนมมื้อดึกอยู่  แต่ถ้าร้องกวนกางคืน เมื่อให้ดูดนมจากขวดแล้วหลับได้ง่ายก็ให้นมมื้อดึกต่อไปได้บ้าง เมื่อลูกได้รับอาหารเสริมมากขึ้น  อุจจาระมีกลิ่นเหม็นขึ้น  สีจะเปลี่ยน  ลูกจะถ่ายวันละ 1 -2 ครั้ง หรือ 2 วันต่อครั้ง   สำหรับปัสสาวะยังถ่ายประมาณวันละ  10  กว่าครั้ง   จำนวนครั้งที่ปัสสาวะกลางคืนจะต่างกัน  เด็กที่กินน้อยมักจะปัสสาวะน้อย  บางคนไม่ปัสสาวะเลยจนถึงเช้า  เด็กที่กินนม  1  ขวดก่อนนอนมักจะปัสสาวะกลางดึกประมาณ  1-2  ครั้ง  เด็กคนไหนที่พอที่นอนเปียกจะตื่นขึ้นมาร้องกวน  เปลี่ยนผ้าอ้อมให้แล้ว  ก็ยังไม่นอนต่อง่ายๆ  นั้นอาจเลื่อนเวลาให้นมก่อนนอนให้เร็วขึ้น   และก่อนที่คุณแม่จะนอนให้จับลุกขึ้มาปัสสาวะเสียครั้งหนึ่งก็อาจจะช่วยได้มาก

พัฒนาการ:

–           –   บางคนอาจคลานขึ้นบันไดได้

–           –   เวลาคลานมือใดมือหนึ่งถือของเล่นได้

–           –   บางคนนั่งลงจากท่ายืนได้ ลุกขึ้นนั่งได้เอง นั่งได้นานทังนั่งกับพื้นและนั่งบนเก้าอี้

–           –   ชอบปรบมือ เอาของเล่นเคาะกัน  โยนของเล่นลงพื้น

–           –   ชอบใช้นิ้วชี้แหย่รู แงะของ สามารถต่อบล็อกได้  2  ชั้น

สังคม:

–           –   บางคนพูดคำที่มีความหมายได้  เช่น  มา  บ่าย  และชอบพูดคำซ้ำ ๆ

–           –   ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้  เช่น หยิบของเล่น

–           –   กลัวคนแปลกหน้า   เมื่อเห็นเด็กคนอื่นร้องไห้ อาจร้องไห้ตาม

–           –   เลือกของเล่นที่ตัวเองชอบ จำเกมที่เคยเล่นได้

Play Tip

–          การฝึกลูกยืน การฝึกลูกยืนหรือก้าวเดิน อาจใช้มือจับแม่โดยตรง แล้วช่วยดึงให้ลูกก้าวมาข้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน  5  นาที  เวลาฝึกควรฝึกนอกบ้านช่วงที่อากาศดี  คุณแม่ควรสนุกไปกับการฝึก  เด็กคนไหนที่พอจะลุกขึ้นยืนได้เอง แล้วถ้าร้องเชียร์ว่า  ‘’ตั้งไข่ ๆ’’  เด็กก็จะสนุก มีกำลังใจถึงล้มก็จะพยายามลุกขึ้นมาได้อีก

–           เตรียมของเล่น วัยนี้ใช้มือได้ดี จึงชอบของที่เคาะแล้วเกิดเสียง  เช่น  กลอง  ระนาด  ของเล่นที่ช่วยฝึกคลาน  หรือเกาะเดิน   คือ  ของเล่นไขลาน  รถยนต์  รถไฟ  สัตว์ที่เดินได้  ไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่นที่ทำด้วยสังกะสี  ควรให้เล่นต่อไม้บล็อกขนาดใหญ่ ถึงยังต่อไม่ได้แต่ก็เอามาเรียงกันได้  ส่วนการเล่นในบ้านก็ไม่ควรให้นั่งเล่นอยู่แต่ในเตียง  ให้ปีนกองที่นอน  หรือนั่งในกล่องแข็งแล้วเข็น  หรือลากวิ่งไปมา  ลูกก็จะสนุกได้

 

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่10: 10 monthฟันกระต่ายขึ้นแล้ว

ลักษณะลูก:

ระยะนี้ลูกน้อยจะมีฟันหน้าขึ้นครบ 4 ซี่ คุณแม่อาจจะเริ่มใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาดฟันให้ลูก วัยนี้ลูกน้อยจะเป็นตัวของตัวเองเพิ่มมากขึ้น ต่อต้านสิ่งที่ไม่อยากทำเพิ่มมากขึ้น ช่วงนี้คุณแม่อาจปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียวบ้าง เพราะการเล่นจะแฝงไว้ด้วยความอยากรู้อยากเห็น และค่อยๆจดจำ

พัฒนาการ:

–   สามารถเกาะโต๊ะ เดินไปรอบๆได้ ยื่นนิ่งได้ชั่วครู่ เริ่มหัดเดินเองได้โดยไม่เกาะ

–   สามารถชี้บอกอวัยวะได้ เริ่มชอบใช้มือข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง แต่ยังบอกไม่ได้นะว่าลูกถนัดข้างใด

สังคม:

–   รู้จักเชื่อมโยงคำพูดกับท่าทาง เช่น ส่งจุ๊บ ยิ้มหวาน เริ่มเลียนแบบท่าทาง สีหน้า ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้

–   กินเองได้คล่องขึ้น ยกแก้วน้ำดื่มเองได้

–   ชอบฟังเพลง โยกตัวเมื่อได้ยินเสียเพลง

Play Tip

–   ลูกชอบเล่นปิดตาจ๊ะเอ๋ ปิดปากจุ๊บ ชอบเล่นเปิดฝา เปิดจุกขวดน้ำออกเทเล่น หรือเล่นกับสบู่หรือฟองน้ำ

–   ควรให้ลูกออกกำลัง เช่นเกาะกล่องใหญ่ที่ใส่ของหนักเข็นเดิน แต่ไม่ควรให้เข็ญรถที่มีล้อนะค่ะ เพราะจะวิ่งเร็วเกินไป

 

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่11: 11 month พยายามออกเสียงเป็นคำๆ

ลักษณะลูก:

–   วัยนี้จะเริ่มนอนกลางวันลดลง จาก 2 ครั้งจะค่อยๆลดลง

พัฒนาการ:

–    ใช้มือยันตัวขึ้นยืนเองได้ ก้มตัวจากท่ายืนได้ นั่งยองได้ถนัดมากขึ้น

–    ใช้นิ้วจับดินสอขีดๆไปมาได้ จับถ้วยคว่ำเทน้ำทิ้ง

–    ใช้มือสองข้างทำอะไรไม่เหมือนกัน เช่นมือข้างหนึ่งถือของเล่น อีกข้างปาของได้

สังคม:

–            –    รู้จักความหมายของคำว่า  ‘’ไม่’’

–            –    ปฏิเสธสิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการเก่งขึ้น

–            –    รู้จักฟังคำสั่งมากขึ้น  หยุดพฤติกรรมของตัวเองได้

–            –    รู้จักเชื่อมโยง  เช่น  รู้ว่านกอยู่บนฟ้า (ถ้าคุณแม่พาลูกออกไปข้างนอก และพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอ)

–            –    เรียนแบบการออกเสียงได้เก่งขึ้น เช่น  พูดคำว่า  “แม่”“ไป”

Play Tip

–           ลูกวัยนี้ใช้นิ้วได้คล่อง ควรเล่นโยนลูกบอล แล้วให้ลูกตามเก็บบอลมา หรือหาสีเทียนให้ถือและลองจับมือลูกลากละเลงสีบนกระดาษ  หรือเล่นหยอดบล็อก

–           ลูกมักชอบเล่นกับของใช้ในบ้านมากกว่าของเล่นที่ซื้อมา บางคนชอบดูภาพ  โดยเฉพาะในหนังสือที่มีภาพใหญ่ๆ  ง่ายๆ ถ้าลูกเริ่มหัดเดิน หาเวลาพาลูกเดินบ่อยๆ โดยการจูงเดิน หรือพาไปเดินบริเวณสนามหญ้าก็ได้

 

พัฒนาการลูกน้อย 12 เดือนแรก ตอนที่12: 12 month 1 ขวบแล้วจ้า

ลักษณะลูก:

เมื่อลูกใกล้จะครบขวบ  ความซนของลูกก็จะยิ่งทวีคูณ  แม้ว่าเด็กบางคนจะยังเดินไม่ได้  แต่ก็อาจคลานได้เร็วจนคุณแม่ไล่จับไม่ทัน  แต่บางคนกรับไม่ยอมคลานใช้วิธีถัดก้นเอาก็มี  แล้วแต่ลักษณะเด็กไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด วัยนี้มีความอยากรู้ อยากเห็นเพิ่มมากขึ้น  ฉะนั้นคุณแม่ห้ามเผลอเด็ดขาด  ไม่ว่าจะปีนบันได  เปิดเตาแก๊ส  ดึงปลั๊กไฟ  เปิดฝาขวด  ล้วนเป็นสิ่งน่าสนใจสำหรับลูกทั้งสิ้น

พัฒนาการ:

–           –   เปิดฝาขวด  ฝากล่องได้คล่อง

–           –   คลานขึ้นลงบันไดเก่งขึ้น ผลักของออกจากตัวได้

–           –   บางคนสามารถถอดกางเกงเองได้ หรือพยายามจะถอดเอง

–           –   ใช้นิ้วหยิบสิ่งของได้เก่งขึ้น ถือของ 2 ชิ้นได้มือเดียว

–           –   จับช้อนเพื่อตักอาหารเข้าปาก พอได้บ้าง

–           –   พยายามจับของเล่นหมุน  ชอบดูของที่หมุนได้

สังคม:

–            –   เลียนแบบท่าทางผู้ใหญ่ได้มากขึ้น

–           –   พูดเป็นคำๆ ได้มากขึ้น  เด็กผู้หญิงจะพูดได้เร็วกว่าเด็กผู้ชาย

–           –   รับรู้อารมณ์ของคนอื่นมากขึ้น

–           –   กลัวคนแปลกหน้าและสถานที่ใหม่ๆ  ที่ไม่คุ้นเคย

–           –   เข้าใจเกมที่เล่นมากขึ้น   เล่นเกมได้หลากหลายขึ้น

–           –   ปฏิเสธการกินเก่งขึ้น  เริ่มมีอาการห่วงเล่นบ้าง

–           –   มีอารมณ์ขันมากขึ้น

Play Tip

–          ควรให้ลูกหัดเดินด้วยตนเอง จัดบริเวณรอบๆ ให้ปลอดภัย  ลูกหกล้มจะได้ไม่เป็นอันตราย ของเหลี่อมคมต้องเก็บให้หมด  ไม่จำเป็นต้องเดินตัวติดลูกตลอดเวลา ลูกก้มบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเป็นพื้นหญ้า หรือพื้นบ้านปูพรมก็เจ็บตัวนิดหน่อย  ที่ต้องระวังมากขึ้นคือที่บริเวณพื้นปูน พื้นกระเบื้อง

–           คุณแม่หมั่นพูดชื่ออวัยวะต่างๆ ให้ลูกฟัง แล้วชี้ไปด้วยลูกจะได้เรียนรู้ร่างกายของตัวเองมากขึ้น อย่าพูดคำว่า“อย่า”   กับลูกน้อยไปซะทุกเรื่อง  ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อันตราย  หมั่นให้ลูกทำด้วยตัวเอง  ลูกจะได้เรียนรู้

 

อ่านแล้วอย่าลืมแชร์ไว้อ่านต่อหรือบอกต่อด้วยนะคะ ^^

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากนิตยสาร  Little Babies Vol.9 Issue 17 และรูปประกอบจาก www.pixabay.com มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ^^

สนใจสั่งซื้อสินค้า Click ที่นี่ได้เลยค่ะ

ปรึกษาเรื่องอาหารตามวัยตั้งแต่ 6 เดือน