จุดเด่น
- รสธรรมชาติของ กล้วยน้ำว้า 100% ใช้กล้วยที่สุกปานกลาง ไม่หวานจนเกินไป ลักษณะเป็นชิ้นเล็ก เนื้อกรอบฟู ละลายง่ายเมื่อโดนน้ำ
- กล้วย ให้พลังงานอย่างดี เหมาะสำหรับเด็กๆในวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตและชอบเคลื่อนไหวร่างกาย ทำกิจกรรมต่าง ๆ สามารถช่วยกระตุ้นให้สมองและร่างกายของเด็กให้ทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไวและกระฉับกระเฉง และช่วยทำให้เด็กอารมณ์ดี
- เป็น Finger food ช่วยเสริมพัฒนาการการทาน การเคี้ยว การกลืน การหยิบจับ และช่วยกระตุ้นให้ฟันขึ้นสำหรับเด็กที่อยู่ในวัย 8 เดือนให้ดีและมีประสิทธิภาพ
- ทานเป็นอาหารว่างกับนม ทานเวลาเดินทางไกล นั่งรถนานๆ
- เป็นตัวช่วยและทางเลือกสำหรับน้องๆที่เบื่ออาหาร ทานยาก
- ใช้กระบวนการอบฟรีซดราย ไม่สูญเสียความอร่อย รสชาติ กลิ่น และคุณค่าทางโภชนาการ ปราศจากวัตถุกันเสีย
ส่วนประกอบ
กล้วยน้ำว้า 100%
วิธีทาน
ทานเล่น หรือนำไปผสมในสลัด นม โยเกิร์ตฯลฯ ได้ตามต้องการ
อายุและวิธีการเก็บรักษา
อายุสินค้า 6 เดือน เปิดแล้วควรปิดให้สนิท เก็บในที่เย็นและแห้ง แนะนำทานให้หมดภายใน 7 วัน
หากต้องการเก็บนานกว่า7วัน แนะนำเก็บในตู้เย็น จะช่วยให้สินค้าไม่ชื้น คงความกรอบอยู่เสมอ กรณีเดินทาง สามารถพกพาไปได้
น้ำหนักสุทธิ
30 กรัม
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร
ไม่มี
แนะนำ
8m+
วิธีการผลิต
ใช้กระบวนการอบฟรีซดราย (การอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง)
ทำให้อาหารแช่แข็งกลายเป็นอาหารแห้งโดยอาศัยการระเหิดของน้ำแข็งในสภาวะสุญญากาศ
จุดเด่น: ไม่สูญเสียความอร่อย รสชาติ กลิ่น และคุณค่าทางโภชนาการ
สามารถเก็บได้เป็นเวลานานในอุณหภูมิปกติโดยปราศจากวัตถุกันเสีย
ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า
- กล้วยช่วยในการเจริญเติบโตทางร่างกายของทารก กล้วยเป็นผลไม้ที่เหมาะเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กทารกโดยตรง เพราะเนื้อมีลักษณะนิ่ม ง่ายต่อการกินของทารกที่ยังไม่มีฟันหรือที่ฟันเพิ่งเริ่มขึ้น นอกจากนี้ กล้วยยังมีคุณค่าของธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกด้วย เช่น มีกรดอะมิโนและเกลือแร่ที่จำเป็นสำหรับเด็กทารกหลายชนิด อีกทั้งมีส่วนประกอบของโปรตีนที่ใกล้เคียงกับน้ำนมแม่ เราจึงเห็นภูมิปัญญาของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันที่ใช้กล้วยน้ำว้ามาบดกับข้าวให้เด็กทารกกินเป็นอาหารเสริม เพราะทำให้เด็กทารกมีสุขภาพแข็งแรง
- กล้วยเพิ่มประสิทธิภาพสมองของเด็ก กล้วยเป็นผลไม้ที่มีโปแตสเซียมสูงมากที่สุดในบรรดาผลไม้ทั้งหมด เพราะในผลกล้วยสุกหนัก 100 กรัมมีสารโปแตสเซียมประมาณ 370 มิลลิกรัม ซึ่งสารโปแตสเซียมในกล้วยมีสรรพคุณในการช่วยเพิ่มพลังให้สมองตื่นตัว สมัยที่ผู้เขียนยังเป็นเด็กเรียนที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ทางโรงเรียนจัดอาหารว่างตอนเช้าคือนมกับกล้วยน้ำว้าให้เด็ก ๆ ได้รับประทานทุกวัน เพราะเป็นการช่วยเตรียมสมองให้พร้อมสำหรับการเรียนนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเรื่อง The Many Benefits of Bananas (ประโยชน์มากมายของกล้วย) ของโรงเรียน Twickenham ในแคว้น Middlesex ที่ประเทศอังกฤษ พบว่านักเรียน200คน ที่รับประทานกล้วยหอมในมื้อเช้าและมื้อกลางวันเป็นประจำทุกวัน มีผลการเรียนอยู่ในระดับดี (2005) ดังนั้น กล้วยจึงเหมาะกับวัยเด็กซึ่งเป็นวัยเรียนรู้ที่ต้องใช้สมองและใช้ความคิดในการเรียนรู้
- กล้วยช่วยเพิ่มพลังงานแก่เด็ก ในกล้วยสุก มีน้ำตาล 3 ชนิด คือ กลูโคส ซูโคส และฟรุคโตส และมีคาร์โบไฮเดรตสูงถึง 22.2 กรัม (คำนวณจากกล้วยที่มีน้ำหนัก100กรัม) ดังนั้น กล้วยจึงให้พลังงานอย่างดี เหมาะสำหรับเด็กๆในวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตและชอบเคลื่อนไหวร่างกายในการวิ่ง กระโดด เล่น ทำกิจกรรมต่าง ๆ การให้เด็ก ๆ รับประทานกล้วยทุกวันจึงสามารถช่วยกระตุ้นให้สมองและร่างกายของเด็กให้ทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไวและกระฉับกระเฉง
- กล้วยช่วยทำให้เด็กอารมณ์ดี กล้วยหอมมีวิตามินบีอยู่มาก ซึ่งมีสรรพคุณที่สามารถช่วยลดความเครียดได้ นอกจากนี้ กล้วยยังมีโปรตีนชนิด try potophan ซึ่งช่วยทำให้เด็กรู้สึกอารมณ์ดี มีความสุข และสารโปแตสเซียมทำให้หัวใจทำงานได้ดี จึงส่งผลให้ออกซิเจนออกไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอ ร่างกายจึงเกิดการผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้ความเครียดลดลง
- กล้วยช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของเด็ก
- 1. ช่วยแก้อาการท้องผูก การให้เด็กรับประทานกล้วยน้ำว้าสุกเป็นประจำทุกวัน จะช่วยให้เด็กไม่มีอาการท้องผูก เพราะกล้วยมีเส้นใยอาหารอยู่มาก จึงช่วยให้ขับถ่ายได้สะดวก
- 2. ช่วยแก้อาการท้องร่วง นำกล้วยดิบมาฝานเป็นแว่นบาง ๆ ทั้งเปลือก ตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดเป็นผงใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาอาการท้องเสียหรือท้องเดิน อีกทั้งสามารถลดอาการท้องเฟ้อท้องอืดได้อีกด้วย
- นอกจากประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ในกล้วยยังมีวิตามินบี1ที่มีสรรพคุณในการป้องกันโรคเหน็บชา มีวิตามินซี ใช้ป้องกันโรคหวัด มีแมกนีเซียม ช่วยควบคุมความดันเลือดและมีแคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และปัจจุบันยังมีการสนับสนุนให้กินกล้วยมื้อเช้าทุกวันเพื่อล้างพิษและลดไขมันในร่างกายอีกด้วย (Hamachi,Asa Banana Diet,2008) ที่มา : https://www.amarinbabyandkids.com/parenting/reason-should-not-feed-banana-baby/3/ https://www.babybbb.com/article_detail.php?nid=444
ดูรายการสินค้าในหมวดเดียวกันเพิ่มเติม
คลิกไปดูรายการสินค้าในหมวด ขนมทานเล่น